โครงสร้างการบริหาร
งานบริหารบุคคล
งานการคลัง
งานพัสดุและงานจัดเก็บรายได้
งานงบประมาณ
งานนโยบายและแผน
งานกิจการสภา
งานส่งเสริมการเกษตร
ส่วนการศึกษา
งานสวัสดิการสังคม
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ระบบ MIS
การให้บริการ
ปฏิทินกิจกรรม
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 20 เมษายน 2567
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านคิดว่า อบต.หลุมข้าว ควรให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
เด็ก- เยาวชน
สตรี
คนชรา
คนพิการ
อบต.ในเครือข่าย

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 20 คน
หมายเลข IP 18.224.149.242
คุณเข้าชมลำดับที่ 6,812,746

ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน


  หน้าแรก   คุยเรื่องสิ่งแวดล้อม     คำถาม-คำตอบ 

คำถาม-คำตอบ
ถาม ตอบ  
  คำถาม :

การปลูกต้นยูคาลิบตัสต้องดูแลอย่างไร

  คำตอบ :

การปลูกไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส(Eucalyptus camaldulensis Dehn.)
 
การเตรียมพื้นที่ปลูก
การเตรียมพื้นที่ปลูกเป็นขั้นตอนหนึ่ง ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยูคาลิปตัส การจะจัดเตรียมพื้นที่ปลูกอย่างไรขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ สภาพดินซึ่งจะต้องพิจารณาในแต่ละพื้นที่ดังต่อไปนี้
1. ในสภาพพื้นที่ที่แห้งแล้ง เช่น เป็นดินลูกรัง พื้นที่ประเภทนี้จะมีไม้แคระแกรน ขึ้นกระจัดกระจายทั่วไป ซึ่งกีดขวางการเจริญเติบโตของไม้ที่ปลูกและมีปัญหา พื้นผิวหน้าดินแข็ง อันจะมีผลต่อการซึมลงไปได้ของน้ำฝน วิธีการเตรียมพื้นที่ที่ดีที่สุด คือการใช้แทรกเตอร์ไถปาดไม้เดิมที่มีออกและเก็บริบสุมเผาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมให้หมด จากนั้นก่อนเข้าฤดูฝนปลายเดือนเมษายน – ปลายเดือนพฤษภาคม ใช้แทรกเตอร์ไถพรวน 2 ครั้ง การไถอายุประมาณ 3 เดือนครั้งแรกใช้ผานสาม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่รองรับน้ำฝนที่ตกลงมา และซึมลงข้างล่าง หลังจากฝนตกหนัก 2 – 3 ครั้ง ใช้รถแทรกเตอร์ผานเจ็ดไถพรวนแปรกลับอีกครั้ง การเตรียมพื้นที่แบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนระยะแรกสูง แต่การปลูกจะได้ผล และต้นไม้จะเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะทุ่นค่าใช้จ่ายในการบำรุงดูแลรักษา
2. ในสภาพพื้นที่ที่เป็นไร่ร้าง หรือพื้นที่กสิกรรมเก่า หรือพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถางมาเป็นเวลานาน พื้นที่เหล่านี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับวัชพืช ตอนต้นฤดูฝนก่อนปักหลักระยะปลูกควรใช้แทรกเตอร์ไถพรวน และเก็บรากวัชพืชออกด้วยก็จะช่วยลดการแก่งแย่งของวัชพืชในระยะแรกของการปลูกได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งจะช่วยให้กล้าไม้ที่ปลูกตั้งตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถต่อสู้กับวัชพืชได้เป็นอย่างด
ภายหลังการไถพรวน สิ่งที่ต้องกระทำต่อไปคือการปักหลักระยะปลูกและการขุดหลุมปลูก หากสามารถจัดเตรียมได้กว้างและลึกยิ่งเป็นการดี แต่พื้นที่ที่มีการจัดเตรียมอย่างดีโดยการไถพรวน ขนาดของหลุมประมาณ 25x25x25 ซม. ถึง 50x50x50 ซม. ก็เป็นการเพียงพอ พื้นที่ที่ผ่านการไถพรวนแล้วนั้น การขุดหลุมปลูกสามารถกระทำได้ง่ายและรวดเร็ว หรือจะชักร่องห่างเท่าระยะระหว่างแถว แล้วขุดหลุมปลูกตามระยะที่ต้องการก็ได

การเตรียมดินก่อนปลูก

สวนป่ายูคา
การปลูก
ขนาดกล้าไม้ที่พอเหมาะในการย้ายปลูกอายุประมาณ 3 – 5 เดือน สูงประมาณ 25 – 40 ซม. ควรเลือกปลูกหลังจากวันที่ฝนตก ทำให้ดินเปียกชื้นพอสมควร ประการสำคัญถุงพลาสติก ต้องฉีกออกและทิ้งนอกหลุม เพื่อให้ระบบรากสามารถชอนไชออกไปตั้งตัว และหาอาหารได้ดีขึ้นแล้ว กลบดินและกดรอบๆ ต้นไม้ให้แน่น ในบริเวณพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ระดับดินที่กลบหลุม ควรให้เป็นแอ่งลึกกว่าระดับดินโดยรอบเล็กน้อย เพื่อให้เป็นแอ่งรับน้ำฝนเลี้ยงต้นไม้
ระยะปลูกจะใช้ระยะปลูกถี่ห่างเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และการนำไม้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมี ข้อคิดเห็นดังนี้
1) ปลูกเพื่อเป็นฟืนหรือเผ่าถ่าน ซึ่งใช้ไม้ขนาดเล็ก ก็อาจปลูกระยะถี่ เช่น ใช้ระยะปลูก 1x2 เมตร หรือ 2x2 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 400 – 800 ต้น/ไร่ ในช่วง 2 – 3 ปีก็สามารถ ตัดไม้มาขายใช้ทำฟืนหรือเผ่าถ่านขายได้ และต้นตอไม้ยูคาลิปตัสที่ตัดออกไปสามารถ แตกหน่อได้โดยไม่ต้องปลูกขึ้นใหม่

2) ปลูกเพื่ออุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ หรือไม้สำหรับใช้ในการก่อสร้าง ที่ต้องการไม้ขนาดโตก็ควรใช้ระยะปลูก 2x3, 2x4 หรือ 4x4 เมตร ซึ่งจะปลูกได้ 100 – 270 ต้น/ไร่ สามารถตัดมาใช้เพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ได้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป ส่วนไม้เพื่อการก่อสร้างต้องมีอายุมากกว่า 5 ปี การปลูกระยะห่างนั้น ในปีที่ 1 – 2 สามารถ ปลูกพืชเกษตรควบลงในระหว่างต้นและแถวของต้นไม้ได้ เป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ และยังมีรายได้ระหว่างคอยผลจากต้นไม้อีกด้วย

ปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา

ปลูกยูคาลิปตัสบนขอบบ่อเลี้ยงปลา
การบำรุงรักษา
การกำจัดวัชพืช เนื่องจากยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิส มีความต้องการแสงและมีความสามารถในการแก่งแย่งกับพวกวัชพืชในระยะแรกได้น้อยดังนั้น การดายวัชพืชอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องจำเป็นแต่เมื่อต้นไม้สูงพ้นวัชพืชแล้ว การดายวัชพืชรอบโคนต้นปีละครั้งก็เป็นการเพียงพอ ส่วนวัชพืชระหว่างต้นและระหว่างแถว ก็ใช้มีดหวดให้สั้นก็พอ ซึ่งการกำจัดวัชพืชนี้นอกจากจะเป็นการลดการแก่งแย่งแสงและธาตุอาหารในดินให้แก่ต้นไม้แล้ว ยังเป็นการลดเชื้อเพลิงที่จะเกิดไฟป่าที่จะเป็นอันตรายต้นไม้ที่ปลูกอีกด้วย
การป้องกันไฟป่า ไฟป่าเป็นตัวทำลายที่สำคัญต่อสวนป่า ดังนั้นการป้องกันไฟป่าเป็นเรื่องจำเป็น มิฉะนั้นต้นไม้ที่ปลูกมาด้วยความเหนื่อยยากและใช้เวลานาน จะถูกทำลายลงในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ การป้องกันไฟป่าทำได้โดยการกำจัดวัชพืชให้น้อยลง การทำแนวกันไฟ การชิงวัชพืชก่อนถึงหน้าแล้งซึ่งเป็นช่วง ที่เกิดไฟป่า การเตรียมคนและอุปกรณ์ให้พร้อมเพื่อดับไฟ เมื่อเกิดไฟไหม้สวนป่าก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะป้องกันการเกิดไฟป่าและลดความรุนแรงที่เกิดจากไฟป่าได
การใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น ควรใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้บ้างเป็นครั้งคราวจะใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ได้ สำหรับปริมาณที่ใส่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ขนาดต้นไม้ ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นแห่งๆ ไป โดยใช้หลักว่าใส่ปริมาณน้อยแต่ใส่บ่อยๆ ต้นไม้จะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้เต็มที่ใส่ปุ๋ยรอบต้นให้ห่างจากโคนเล็กน้อย พร้อมกับพรวนดินรอบๆ โคนต้น
การลิดกิ่ง ยูคาลิปตัสบางสายพันธุ์จะแตกกิ่งก้านตั้งแต่ยังเล็กหรือมีกิ่งที่มีขนาดใหญ่ทำให้ดูเป็นปู หากผู้ปลูกต้องการไม้ที่มีลำต้นเปลาตรง ควรหมั่นตรวจและลิดกิ่งเสมอ แต่บางสายพันธุ์จะมีกิ่งก้านเล็ก ซึ่งจะแห้งและร่วงหล่นเองตามธรรมชาติในฤดูแล้ง
การตัดสางขยายระยะ ในกรณีที่ปลูกต้นไม้ในระยะถี่ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตมากขึ้นก็จะมีการเบียดบังและแก่งแย่งกันเอง ทำให้ต้นไม้ที่เหลืออยู่เจริญเติบโตดีขึ้น และไม้ที่ตัดออกก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ โดยจะเลือกตัดต้นที่มีลักษณะเลว หรือคดงอ แคระแกร็นออก หรืออาจจะเลือกตัดออกแบบง่ายๆ เช่น ตัดออกแบบต้นเว้นต้น หรือแถวเว้นแถว หรือสลับกัน ก็แล้วแต่ผู้ปลูกจะพิจารณาตามความเหมาะส
การบำรุงรักษาอื่นๆ ได้แก่ การป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้าเหยียบย่ำในระยะที่ต้นไม้ยังเล็ก การป้องกันโรคและแมลง ซึ่งผู้ปลูกจะต้องหมั่นตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ
การเจริญเติบโต
การปลูกสร้างสวนป่ายูคาลิปตัส ถ้าหากได้มีการดำเนินการปลูกและบำรุงรักษาอย่างดีถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว ต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกในสวนป่า จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตตอบแทนในระยะเวลา 5 ปี การเจริญเติบโตของยูคาลิปตัสในระยะ 5 – 7 ปีแรกไม่ต้องการเนื้อที่เท่าใดนัก เนื่องจากมีเรือนยอดแคบๆ แม้บางแห่งจะเห็นต้นไม้อยู่อย่างเบียดเสียดกันบ้างแต่การเจริญเติบโตยังคงเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงยังไม่จำเป็นนัก ในการตัดสางขยายระยะ อย่างไรก็ตามสิ่งจำเป็นที่ต้องปฏิบัติในการดูแลต้นไม้คือหากพบต้นไม้ใดที่ไม่แข็งแรง เช่น ต้นที่ถูกแมลง รบกวนหรือเป็นโรค ไม้ ที่แคระแกร็นหรือหากถูกข่มจากต้นข้างเคียงมาก ควรต้องตัดทิ้งออกไป สวนป่าที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชและเชื้อเพลิงต่างๆ อย่างดีแล้ว มักจะรอดพ้นอันตรายจากไฟป่าได้ หรือในกรณีที่ต้นไม้ยูคาลิปตัสได้รับอันตรายจากไฟป่าส่วนใหญ่ก็จะแตกตาออกมาอีกตามกิ่ง ลำต้นและตาเหล่านี้ จะเจริญเติบโตเป็นหน่อใหม่หรือบางครั้งลำต้นเดิมจะเริ่มเจริญเติบโตต่อไปอีกอย่างปกต
การตัดฟัน และการไว้หน่อ
1.ปลูกระยะ 1x1 เมตร (ไร่ละ 1,600 ต้น) ปีที่ 2 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนขนาดเล็ก ปีที่ 3 – 4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่าน ที่เหลือตัดในปีที่ 5 เพื่อทำเยื่อกระดาษ ชิ้นไม้สับ เสาขนาดเล็ก และไม้แปรรูปขนาดเล็ก
2.ปลูกระยะ 2x2 เมตร และ 2x4 เมตร (ไร่ละ 400 ต้น และ 20 ต้น) ปีที่ 3- 4 ตัดออก 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำฟืนและถ่าน ปีที่ 5 ตัดทำเยื่อกระดาษ ชิ้นไม้สับ เสาขนาดเล็ก และไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดีไว้ 10 – 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้าง บ้านเรือน
3.ปลูกระยะ 3x3 เมตร, และ 4x4 เมตร (ไร่ละ 176, 100 ต้น) ตัดในปีที่ 5 ทั้งหมด เพื่อทำเยื่อกระดาษ ชิ้นไม้สับ ฟืน ถ่าน เสาขนาดเล็ก และไม้แปรรูปขนาดเล็ก หรือคงเหลือไม้ลักษณะดีไว้ 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อทำไม้แปรรูปใช้ก่อสร้างบ้านเรือน
การตัดไม้ยูคาลิปตัสในสวนป่าออกมาใช้ประโยชน์ดังกล่าว ควรทำในระยะเริ่มต้นฤดูฝน เพราะดินมีความชื้น ต้นไม้ที่ตัดโคนลงจะได้รับความเสียหายจากการโค่นล้มน้อยกว่าช่วงหน้าแล้ง และควรตัดต้นไม้ยูคาลิปตัสให้ระดับพื้นดินประมาณ 10 – 12 ซม. เพื่อปล่อยให้แตกหน่อใหม่ จากนั้นอีกประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 จำนวน 10 กก./ไร่ ปล่อยไว้อีก 1 – 2 เดือน ทำการตัดแต่งหน่อไว้ให้เหลือเพียง 2 – 3 หน่อ หรืออาจจะเหลือไว้ 7 – 8 หน่อ อีกประมาณ 1 ปี จึงค่อยสางหน่อออกไป 5 – 6 หน่อ ไปทำฟืน – ถ่าน หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เหลือหน่อที่ดีที่สุดเพียงหน่อเดียวหรือ 2 หน่อ ทำการบำรุงรักษาทุกๆ ปีตามปกติจนตัดฟันครั้งต่อไป
 
ประโยชน์ของไม้ยูคาลิปตัส
ยูคาลิปตัสสามารถนำมาปลูกเป็นสวนป่าเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูงเมื่อเปรียบเทียบกับไม้โตเร็วชนิดอื่น ในช่วง 1 – 2 ปีแรกสามารถปลูกพืชควบในพื้นที่สวนป่าแบบไร่นาป่าผสม หรือวนเกษตรได้ เช่น ปลูกละหุ่ง เผือก ถั่วลิสง สัปปะรด ข้าวโพด ข้าว หญ้ากินี ฯลฯ ในระหว่างแถวของยูคาลิปตัสซึ่งจากการวิจัยของนักวิชาการพบว่า พืชควบที่ปลูกให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดีและ ยูคาลิปตัสไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อพืชเกษตร ที่ปลูกแต่อย่างใด
-ประโยชน์ทางตรง
ไม้ยูคาลิปตัสสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางตรงได้หลายหลายอย่างดังนี้
1. ทำไม้ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ทำรั้ว ทำคอกปศุสัตว์ ทำเสา ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ไม้ยูคาลิปตัสสามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือนได้ แต่ควรจะได้ทำการ อาบน้ำยารักษาเนื้อไม้ไว้ก่อน ก็จะยืดอายุ การใช้งานได้นาน
2. ทำฟืน เผาถ่าน ถ่านไม้ยูคาลิปตัสใช้เป็นเชื้อเพลิงติดไฟได้ดีและมีขี้เถ้าน้อย จากการทดลอง ไม้ฟืนยูคาลิปตัสให้พลังงานความร้อน 4,800 แคลอรี่ต่อกรัม ส่วนถ่านไม้ยูคาลิปตัส ให้พลังงานความร้อน 7,400 แคลอรี่ต่อกรัม ซึ่งให้ความร้อนใกล้เคียงกับถ่านไม้โกงกาง ซึ่งจัดว่าเป็นถ่านไม้ชั้นดีที่สุด
3. ทำชิ้นไม้สับ ไม้ยูคาลิปตัสเมื่อนำมาแปรรูปและสับทำชิ้นไม้สับ สามารถนำไปผลิตแผ่นชิ้นไม้อัด แผ่นใยไม้อัด แผ่นปาร์ติเกิล และแผ่นไม้อัดซีเมนต์ นอกจากนี้ได้มีโรงงานผลิตชิ้นไม้สับ เพื่อนำส่งไปจำหน่ายให้กับโรงงานเยื่อกระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ประเทศเกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งมีความต้องการสูงมาก ไม้ท่อนยูคาลิปตัส 2.2 ตัน นำมาผลิตเป็นชิ้นไม้สับได้ 1 ตัน ราคาชิ้นไม้สับ ประมาณตันละ 3,000 บาทเศษ
4. ทำเยื่อไม้ ไม้ยูคาลิปตัสสามารถแปรรูปทำเยื่อไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งมูลค่าผลผลิตเยื่อไม้ราคาตัน 17,000 บาท โดยไม้ท่อนยูคาลิปตัส 4.5 ตัน ผลิตเยื่อไม้ได้ 1 ตัน เยื่อไม้ให้สารพวกเซลลูโลส ซึ่งนำไปใช้ทำเส้นใยเรยอนและทำผ้าแทนเส้นใยฝ้าย และปุยนุ่นได้อีกด้วย โดยมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นตันละ 60,000 บาท และเมื่อนำเส้นใยเรยอนมาปั่นเป็นเส้นด้าย และทอเป็นผ้าจะมีมูลค่าสูงถึง ตันละ 75,000 บาท และ 300,000 บาท ตามลำดับ
5. ทำกระดาษ จากการประเมินเยื่อไม้ยูคาลิปตัส 1 ตัน ผลิตเยื่อกระดาษได้ประมาณ 1 ตัน เยื่อไม้ยูคาลิปตัสมีคุณสมบัติเด่น คือ มีความฟูสูง และมีความทึบแสง ประกอบกับ ไฟเบอร์มีความแข็งแรงเหมาะต่อการใช้ทำกระดาษพิมพ์เขียวประเภทต่างๆ ได

-กองไม้ชิ้นสับ

ปลูกยูคาลิปตัสควบกับพืชเกษตร

ปลูกยูคาลิปตัสในนาข้าว

ท่อนไม้ยูคาลิปตัสเส้นผ่าศูนย์กลาง
ประมาณ 8 นิ้ว สำหรับเลื่อยเป็นไม้แปรรูป

ไม้ยูคาลิปตัสที่เลื่อยเป็นไม้แปรรูป

ชิ้นไม้สับ

 

สายตรงผู้บริหาร

ดาบตำรวจเริงศักดิ์ เข็มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
084-8269444

นางสาวพิมพาภรณ์ รุจินรเชษฐ์
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
081-6515594
ความรู้เกี่ยวกับ อบต.
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย
เว็บไซต์บริการ
กฎหมายน่ารู้
ระบบสารสนเทศ
แบบสอบถาม
ข้อมูล ITA
ข้อมูล ITA
เฟสบุ๊ค
ประกาศเจตนารมณ์ (No Gift Policy)
ศูนย์ช่วยเหลือประชาชน
ประกาศช่องทางการแจ้งเบาะแสป้ายโฆษณารุกล้ำทางสาธารณะ
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
ร้องเรียนการทุจริต
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open data)
คู่มือการปฏิบัติงานรับเรื่องราวร้องทุกข์
งานกฎหมายและระเบียบ
พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติราชการ
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
บ้านท่ากระสัง หมู่ที่ 4 ตำบลหลุมข้าว อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา 30160
Tel : 0-4436-7093 , 08-1725-7645   Fax : 0-4436-7093
Email : lumkhaw@hotmail.com
Copyright © 2023 by OPSTECH All Right Reserved. 
ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์